เมนู

ภควโต อัปปาพาธปัญหา ที่ 9


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการ ตรัสถามอรรถเป็นปริศนาสืบไปเล่าว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ มีพระ
พุทธฎีกาตรัสว่า ตถาคตนี้ พฺราหฺมโณ เป็นพราหมณ์ ยาจโยโค ผู้ควรซึ่งยาจกจะพึงขอ ปยต-
ปาณี
ล้างมือไว้คอยท่าจะให้ทาน อนฺติมเทหธโร ทรงไว้ซึ่งกายอันเป็นที่สุดชาติเดียว อนุตฺตโร
เป็นผู้ยิ่งหาสิ่งเปรียบมิได้ ภึสโก เป็นหมอรักษาไข้ทั้งปวง นี่แหละ พระองค์ตรัสยกยอพระ
องค์ว่าประเสริฐกว่าสรรพสัตว์สิ่งทั้งปวง พระพุทธองค์เจ้าตรัสฉะนี้แล้วกลับมีพระพุทธฎีกา
ตรัสสรรเสริญยกย่องพระพากุลเถระในตำแหน่งเอตทัคคะว่า พระพากุลภิกษุนี้ มีอาพาธน้อย
ประเสริฐกว่าภิกษุทั้งหลายบรรดาที่เป็นสาวกของพระองค์ ดังนี้ และพระผู้ทรงพระภาคก็
ได้ทรงประชวรเป็นหลายครั้ง เห็นปรากฏอยู่ โยมนี้สงสัยแคลงใจนัก ไม่รู้ว่าจะเชื่อคำไหน จะ
เชื่อคำต้น คำหลังจะก็ผิดไป ครั้นจะเชื่อคำหลังไซร้ คำต้นก็จะผิด โยมคิด ๆ ดูก็หารู้ที่จะกำหนด
ไม่ ไฉนพระพุทธฎีกาจึงเป็นสองไม่ต้องกัน อยํ ปญฺโห ปริศนานี้ อุภโต โกฏิโก มีที่สุดเป็นสอง
เงื่อน ตฺวานุปฺปตฺโต มาถึงพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจงวิสัชนาให้โยมแจ้งก่อน
เถโร อาห พระนาคเสนผู้ทรงอริยสังวรจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร
พระราชสมภารผู้ประเสริฐ พระอสีติมหาสาวกทั้งหลาย 80 รูปมีคุณวิเศษต่างๆ กัน สมเด็จ
พระสัพพัญญูบรมครูเจ้าก็ยกเป็นเอตทัคคะ ตามคุณวิเศษต่าง ๆ กัน ใช่ว่าพระองค์เจ้าจะยกย่อง
พระพากุลเถระว่า พระพากุลเถระนี้เป็น อนุตฺตโร ไม่มีผู้อื่นจะยิ่งกว่าหรือเสมอเหมือนพระ
องค์ก็หามิได้
ซึ่งสมเด็จพระองค์เจ้าตรัสว่า พฺราหฺมโณ พระองค์เป็นพราหมณ์นั้น ด้วยพระองค์ทรง
เที่ยวบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกทั้งปวง ดุจพราหมณ์ยาจกอันเข้าทุกตรอกออกทุกบ้าน เที่ยวขอ
ทานเลี้ยงชีวิต ประการหนึ่ง สมเด็จพระพิชิตมารตรัสว่า ภึสโก พระองค์เหมือนหมอยารักษาไข้
นั้น ด้วยฝูงสรรพสัตว์ทั้งปวงประกอบด้วยทุกข์ 4 กอง คือชาติที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดานี้
ลำบากเหมือนหนึ่งว่าตกนรก จะหาสุขสักหน่อยให้มีความสบายเท่าปลายเข็มนั้นก็ไม่ได้ จึงจัด
ว่าเป็นทุกข์กองใหญ่ประการ 1 ชราทุกข์นั้นเกิดมาแล้ว เมื่อจำเริญวัยก็ดูผ่องใสโสภา ครั้น
แล้วก็ชราภาพมีกายสั่นระเทิมเทา มีเกสาขาว ขณฺฑนฺตา ฟันก็หลุดหล่นไป อาหารที่เคย
เคี้ยวได้นั้นก็เคี้ยวไม่ได้ เสื่อมรสไป จะพูดจาเขฬะก็ไหลออกปาก ขณะเมื่อนอนนั้นก็ดี มีน้ำ
เขฬะไหลเหตุหาฟันจะกันมิได้ เนื้อหนังเหี่ยวแห้งไป เท้ามือไม่เป็นใหญ่ง่อนแง่นนักหนา ทณฺฑ-
ปรายโน
ถือไม่เท้าจดจ้องไปข้างหน้า ถึงซึ่งสภาวะเป็นที่เกลียดชังยิ่งนัก จะว่าไปนักจะยาวความ
เหตุฉะนี้แหละจึงชื่อว่าชราทุกข์ เป็นทุกข์ใหญ่กอง 1 พยาธิทุกข์นั้น คือฉันนวุติกโรค 96

จำพวก จำพวกใดจำพวกหนึ่งเกิดขึ้นในกายแล้วเจ็บปวดเสียดแทงทนเวทนาสาหัสเป็นทุกข์
ใหญ่กอง 1 และมรณทุกข์เมื่อตนจะตายนั้น เป็นห่วงด้วยทรัพย์สมบัติห่วงบุตรห่วงภรรยา
น้ำตาไหลตกตะลึงไปไม่รู้ว่าจะไปเกิดที่ไหน เลยเจ็บปวดจนขาดใจดังนี้ จึงว่าเป็นกองทุกข์
ใหญ่กอง 1 สิริเป็นกองทุกข์ 4 กอง มีในสันดานของสัตว์โลกหญิงชาย สัตว์โลกทั้งหลายนี้
ไม่พ้นจากทุกข์ 4 กองนี้ ทุกตัวตนเปรียบเหมือนคนไข้ สมเด็จพระบรมโลกนาถจึงประทานยา
คือตรัสพระสัทธรรมเทศนาโปรดนิกรสาธุชนให้พ้นจากชาติชราพยาธิมรณะ เข้านิพพานดับทุกข์
4 กองนี้ได้เหมือนหมอวางยารักษาไข้ให้หาย อันนี้เป็นอธิบายในคำว่าพระองค์เป็นหมอ
ข้อที่ตรัสยกพระพากุลเถระว่า ยิ่งเป็นเอตทัคคะนั้น คือยิ่งโดยอาพาธน้อยกว่าสาวก
ทั้งหลาย พระพากุลเถระที่จะยิ่งสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ หามิได้เป็นอันขาด
มหาราช ขอถวายพระพร ที่สมเด็จพระมุนินทราบรมสุคตเจ้าตรัสยกย่องพระสาวกว่า
เป็นเอตทัคคะนั้น พระองค์ทรงหมายเอานิกายและโลกุตรธรรมอันมีอยู่ในตน ฐานจงฺกมิตาย
สาวกทั้งหลายของสมเด็จพระบรมครูเจ้า ให้กาลล่วงไปด้วยยินและจงกรม ทั้งในกลางวันและ
กลางคืนมีอยู่ บรรทมบ้าง ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน มหาราช ขอถวายพระพร พระสาวกเหล่าใด
เป็นผู้ให้กาลล่วงไปด้วยยืนและจงกรม พระสาวกเหล่านั้นเป็นผู้ยิ่งพิเศษโดยฐานคือเป็นผู้ยืน
และจงกรมนั้น
สนฺติ โข ปน มหาราช ขอถวายพระพร ประการหนึ่ง สาวกของพระบรมครูเจ้าทั้งหลาย
ที่ถือเอกาสนะฉันจังหันละหน แม้จะถึงแก่ความตายก็ไม่ฉันหนที่ 2 ก็มีอยู่ ส่วนสมเด็จพระ
บรมครูเสวยวันละสองครั้งก็มี สามครั้งก็มี มหาราช ขอถวายพระพร พระสาวกเหล่าใดเป็นผู้
ถือเอกาสนะได้ พระสาวกเหล่านั้นเป็นผู้ยิ่งพิเศษโดยฐานนั้น
มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ เหตุที่จะทำให้เป็นผู้ยิ่งเป็นผู้พิเศษ มีอยู่เป็นอันมาก
หลายอย่างหลายประการ ที่พระบรมโลกุตตมาจารย์ตรัสยกย่องพระสาวกทั้งหลายว่า เป็น
เอตทัคคะฝ่ายใด ๆ พระองค์ก็ทรงหมายเอาองคคุณฝ่ายนั้น ๆ อันเป็นเหตุมีอยู่เป็นอย่างยิ่ง
ส่วนสมเด็จพระสัพพัญญูนั้นเป็นผู้ยื่งหาผู้ใดจะเสมอมิได้โดยศีลสมาธิปัญญาและวิมุตติ
วิมุตติญาณทัสสนะ พลญาณ 10 เวสารัชชญาณ 4 พุทธธรรม 18 อสาธารณญาณ 6 และ
พุทธวิสัยธรรมทั้งสิ้น สมเด็จพระมุนินทรบรมสุคตเจ้าตรัสว่าพระองค์เป็นผู้ประเสริฐเลิศล้น หา
คนผู้ใดจะเสมอมิได้นั้น ก็ทรงหมายธรรมทั้งหลายเหล่านี้
มหาราช ขอถวายพระพร ในหมู่มนุษย์นิกรทั้งหลาย คนหนึ่งเป็นผู้มีชาติ คนหนึ่งมี


ทรัพย์ คนหนึ่งมีวิชา คนหนึ่งมีศิลปะ คนหนึ่งกล้า คนหนึ่งมีปัญญา สมเด็จพระบรมกษัตริย์
ขัตติยาธิบดีย่อมประเสริฐล่วงเสียซึ่งมนุษย์นิกรเหล่านี้ได้ เป็นผู้สูงสุดแต่พระองค์เดียวฉันใด
สมเด็จพระจอมไตรบรมโลกนาถเจ้าก็ประเสริฐกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย มีอุปไมยฉันนั้น พระ
พากุลเถระนั้นจะประเสริฐยิ่งไปกว่าสมเด็จพระบรมศาสดานั้นเป็นอันไม่ได้
มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ ซึ่งพระพากุลเถระเป็นผู้มีอาพาธน้อยนั้นด้วยอานิ-
สงส์ที่ได้ปฏิบัติอุปฐากพระอโนมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า อันประชวรอาพาธซึ่งเกิดขึ้นด้วยสามารถ
ลมเสียดแทงพระอุทรให้เสื่อมหาย ครั้นภายหลังในอปรชาติเป็นอาบสประพฤติพรตอิสิเพศ
ได้ถวายยาแก่พระภิกษุสงฆ์ทั้งลาย 28 แสน ซึ่งเป็นสาวกของพระวิปัสสีสัมพุทธเจ้าผู้อา-
พาธด้วยโรคลมดังก่อน พฺยาธึ อปเนตฺวา บำบัดพยาธิให้เสื่อมคลายหายไปกลับมีร่างกาย
เป็นปรกติดี ผลานิสงส์นี้ตามส่งผลให้มีโรคน้อยมาหลายสิบชาติ ตราบเท่าถึงชาติเป็นพระพากุลนี้
ก็เป็นผู้มีโรคน้อยนักหนา จนสมเด็จพระบรมศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ เอกกว่าสาวก
ทั้งหลายฝ่ายข้างอาพาธน้อย แต่หายิ่งไปกว่าพระองค์ไม่
มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์เจ้านั้น
จะประชวรก็ดี ไม่ประชวรก็ดี สมาทานธุดงค์ก็ดี ไม่สมาทานก็ดี จะมีสัตว์ผู้หนึ่งเสมอเหมือน
พระองค์เป็นอันว่าหามิได้ แม้พระองค์เองก็ได้มีพระพุทธฎีกาตรัสไว้ในคัมภีร์สังยุตตนิกายเป็น
ใจความว่า ภิกฺขเว ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดไม่มีเท้าก็ตาม สองเท้าก็ตาม สี่เท้าก็ตาม
มีเท้ามากก็ตาม มีรูปก็ตาม ไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญาก็ตาม หาสัญญามิได้ก็ตาม จะว่ามีสัญญาก็
มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ตาม พระตถาคตผู้อรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า เตสํ อคฺคมกฺขายติ
บัณฑิตย่อมกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้*
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ได้ทรงสดับก็สิ้นสงสัย ทรงโสมนัสซ้องสาธุการสรรเสริญพระ
นาคเสนว่ามีปรีชาในกาลบัดนี้
ภควโต อัปปาพาธปัญหา คำรบ 9 จบเพียงนี้

*ปัญหานี้ซ้ำย้ำกับยาจโยคปัญหาที่ 10 ในจตุตุถวรรค แต่เห็นว่าในปัญหานี้กล่าวต่างจากปัญหานั้นเล็ก
น้อยกัยท่านผู้แปลได้แสดงโวหาร อธิบายเป็นพิเศษไว้บ้าง จึงคงปล่อยไว้ไม่ต้องเอาออก

อนุปปันนมัคคัสส อุปทานปัญหา ที่ 10


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงมีพระราชโองการตรัสถามอรรถปัญหาอื่นสืบไปว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าอันประกอบด้วยปรีชาญาณ สมเด็จพระบรมโลก-
นาถศาสดาจารย์มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า พระตคาคตเป็นผู้ยังมรรคที่ยังมิได้เกิดให้บังเกิดขึ้น
แล้วกลับมีพระพุทธฎีกาตรัสอีกว่า ภิกฺขเว ดูกรภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย เราผู้ตถาคตได้เห็นปุราณ-
มรรคหนทางเก่า ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในก่อนทรงอนุญาตไว้แล้วดังนี้ นี่แหละ
เป็นคำแย้งกันอยู่ เดิมพระองค์ตรัสว่าพระตถาคตเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดเอง ภายหลัง
สิว่า พระองค์เห็นปุราณมรรคที่พระพุทธเจ้าในก่อนได้ทรงอนุญาตไว้ จะเชื่อคำเดิม คำหลังก็ผิด
เชื่อฟังไม่ได้ ครั้นจะเชื่อฟังคำหลัง คำเดิมก็ผิด เป็นที่สงสัยอยู่ อยํ ปญฺโห อันว่าปัญหานี้
อุภโต โกฏิโก มีที่สุดเป็นสองเงื่อนอยู่ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าโปรดวิสัชนาให้แจ้งในกาลบัดนี้
เถโร อาห พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร
พระราชสมภารผู้ประเสริฐ เดิมสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ประทานพระพุทธฎีกาไว้ว่า
พระตถาคตยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นดังนี้ ภายหลังสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดา
ตรัสว่าพระตถาคตได้เห็นแล้วซึ่งปุราณมรรคหนทางเก่า ที่พระพุทธเจ้าแต่ก่อนอนุญาตไว้ คำ
ทั้งสองนี้ถูกต้องทั้งสองสถาน จะมีผิดเพี้ยนหรือโต้แย้กันหามิได้ มหาราช ขอถวายพระ
พรบพิตรผู้ประเสริฐ อันว่าปุราณมรรคนั้น ก็ได้แก่พระอัฏฐังคิกมรรคอันมีองค์ 8 ประการ
พระอัฏฐังคิกมรรคนี้ สมเด็จพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนตรัสรู้แล้วก็สรรเสริญอนุญาตไว้ ให้ฝูงสัตว์
โลกทั้งหลายพากันปฏิบัติสิ้นด้วยกัน ครั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าแต่ก่อนเสด็จเข้าสู่พระนิพพาน
ล่วงแล้ว พระอัฏฐังคิกมรรคนั้นก็ลี้ลับไป หาผู้จะปฏิบัติมิได้เลย พระอัฏฐิคิกมรรคนั้นลี้ลับอยู่
เปรียบอุปมาฉันใด จกฺกวตฺติโน มณีรตนํ วิย เปรียบดุจแก้วมณีอันเกิดสำหรับบุญแห่งสมเด็จ
บรมจอมจักรพรรดิราชผู้ประเสริฐ ครั้นสมเด็จบรมจอมจักรพรรดิราชเสด็จล่วงลับดับสูญสิ้น
พระชนมายุแล้ว อันดวงแก้วมณีรัตน์นั้นก็อันตรธานหายจากสถานที่นั้น ไปสถิตซ่อนอยู่ที่ยอด
เขาวิบุลบรรพต ครั้นบรมจอมจักรพรรดิราชองค์อื่นได้มาเป็นใหม่ แก้วมณีรัตน์นั้นก็มาสู่สำนัก
สมเด็จบรมจอมจักรพรรดิราชพระองค์นั้น มหาราช ขอถวายพระพร เมื่อเป็นเช่นนั้นจะว่าแก้วมณี
อันปรากฏขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิราช พระเจ้าจักรพรรดิราชทรงสร้างแก้วมณีใหม่ขึ้นเองหรือ
เป็นประการใด
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นนราธิปไตยจึงตรัสตอบว่า น หิ ภนฺเต ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา
จะว่าพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้นสร้างแก้วมณีใหม่หาได้ไม่ แก้วมณีเก่านั้นเอง แต่เกิดขึ้นแก่พระ
เจ้าจักรพรรดิราชนั้น